สุรินทร์-กรมปศุสัตว์ประสบผลสำเร็จจากการบูรณาการผสมเทียม ลูกแก้ว เป็นลูกควายปลักที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่

กรมปศุสัตว์ประสบผลสำเร็จจากการบูรณาการผสมเทียม ลูกแก้ว เป็นลูกควายปลักที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่  ซึ่งถูกเก็บออกมาจากรังไข่ของควายปลักเพศเมีย  และเพาะเลี้ยงในหลอดแก้ว เมื่อเริ่มเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะที่แข็งแรงจะถูกนำไปแช่แข็ง ใน ไตรตรองเจนเหลวก่อนจะนำมาละลายน้ำแข็งแล้วนำตัวอ่อนไปฝากไว้ในท้องแม่คอยอุ้มบุญในจังหวัดสุรินทร์  ซึ่งกว่าจะได้ เป็นเจ้าลูกแก้วตัวนี้ได้ มันก็ถูกแช่แข็งในไตตรุษจีนแล้ว มานานถึง 12  ปีควายปลัก หรือ ควายเนื้อ พบได้มากในไทยและแถบประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งควายปลัก ถือว่าเป็นควายประจำถิ่น สายพันธุ์ดั้งเดิม ของไทย

โดยข้อมูลจากกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์พบว่า  เมื่อ 10 ปีก่อนมีควายปลัก อยู่กว่า 5 ล้านตัว ซึ่งปัจจุบันเหลือหนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นหนึ่งพันยี่สิบสามตัว ทั่วประเทศ สาเหตุเพราะ ไม่ได้รับความนิยม  อีกทั้งระยะการสืบพันธุ์ออกลูกก็ช้ามาก เป็นแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง จำนวนควายปลัก ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ จนอาจสูญพันธุ์ได้ภายใน 10 ปี

การทดลองทำลูกควายปลัก ตัวอ่อน หลอดแก้ว นับเป็นการเพิ่มจำนวนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ควายปลักที่สมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อนำไปผสม ธัญกับควายเลี้ยงของชาวบ้าน  แก้ปัญหาการผสมเลือดชิด สร้างความหลากหลาย หลายหลาก ทางชีวภาพ ให้กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม  ช่วยให้เกิดสมดุลทางระบบนิเวศ ยิ่งหากมีการนำควายกลับมาใช้ไถนาเพิ่มขึ้น  นอกจากจะช่วยลดต้นทุน การผลิตแล้ว ยังช่วยลดมลภาวะจากเครื่องจักรลงด้วย ไม่ใช่เฉพาะควายปลักเท่านั้น  แต่กรมปศุสัตว์ยังนำเทคโนโลยี ทางระบบสืบพันธุ์ มาช่วยอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ พื้นเมืองชนิดอื่นๆ อย่างโคนม  โคชน  และโคขาวลําพูน  ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี

ความสาเร็จครั้งนี้เกิดจากการทางานแบบบูรณาการระหว่างศูนย์วิจัย – เเทคโนโลยีชีวภาพการย้ายฝากตัวอ่อนและเซลล์สืบพันธุ์สัตว์ จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้กากับของสานักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์  และศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ จังหวัดสุรินทร์ โดยเมื่อปี  2560 ได้มีการบูรณาการทางานระหว่าง  2 หน่วยงานดังกล่าว จึงมีการเตรียมกระบือตัวรับ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ จังหวัดสุรินทร์ เพื่อรับฝากตัวอ่อนแช่แข็ง และฝากตัวอ่อนเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560  โดยฝากไป 2 ตัว ตัวละ 1 ตัวอ่อน แม่กระบือท้อง 1 ตัว และคลอดลูกเมื่อวันที่  23  กรกฎาคม 2561 ตัวอ่อนกระบือปลักที่ย้ายฝากและติดตั้งท้องเป็นตัวอ่อนเกิดจากการปฏิสนธินอกร่างกายที่แช่แข็งเมื่อวันที่  4  สิงหาคม 2548  รวมเวลาที่ตัวอ่อนถูกแช่แข็งเก็บไว้นาน  12 ปี พ่อพันธุ์ น้ำเชื้อกระบือปลัก หมายเลข SB2/ 36  ตรวจสอบความเป็นแม่ลูกด้วยเทคนิคดีเอ็นเอ พบว่าไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม จึงสรุปได้ว่าเป็นลูกเกิดจากการฝากตัวอ่อน  เกิดจากตัวอ่อนหลอดแก้วแช่แข็งนาน 12 ปี พ่อพันธุ์เป็นน้ำเชื้อแช่แข็งกระบือปลัก หมายเลข SB2/36 วันเกิด 23  กรกฎาคม 2561  เวลา 09.19 น. เพศเมีย แม่กระบืออุ้มท้องหมายเลข SRB 7/57 ท้องนาน 341 วัน    น้ำหนักแรกเกิด 35 กก. ส่วนสูง 71 ซม. ลาตัวยาว 64 ซม.รอบอก 73 ซม.

ทีมข่าวสุรินทร์เพื่อนคุณ