อีสานเตรียมรวย!มาเลย์เตรียมหอบเงินลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชน หนุนปลูกหญ้าเนเปียร์ขาย

4563

กลุ่มนักธุรกิจพลังงานมาเลเซีย เดินทางศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าชุมชมในไทย เตรียมลงทุนโรงไฟฟ้าไบโอแก๊ส ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่

นักธุรกิจด้านพลังงาน กลุ่มเวิร์ลไวด์ กรีน เบอร์ฮัด ของมาเลเซีย จำนวน 8 คน นำโดยดร.บาฮารัม บิน อิสมาแอล ประธานกลุ่ม และดาโต๊ะ กุนโตร์ โตเบง กรรมการผู้อำนวยการบริษัทกาเดง เคนคานา เดลเวลล็อปเมนต์ ได้เดินทางมาศึกษาดูงานและดูลู่ทางลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชมที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น

กลุ่มเวิร์ลไวด์ กรีน เบอร์ฮัด ของมาเลเซีย เป็นกลุ่มธุรกิจพลังงานใหญ่ของมาเลเซียมีบริษัทสมาชิกประมาณ 60 บริษัท ได้ลงทุนโรงไฟฟ้าในมาเลเซีย อินโดนีเชีย รวมทั้งในซาอุดิอารเบียให้ความสนใจลงทุนด้านพลังงานในประเทศไทย โดยนายสุรพัฒน์ หมื่นศรีรัชต์ ผู้อำนวยการใหญ่โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อโรงไฟฟ้าชุมชุนชมไอบโอแก๊ส เป็นผู้นำการดูงาน โดยนายเวียง วรเชษฐ์ ที่ปรึกษารมว.วัฒนธรรม นำเข้าพบนายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ช่วยงานกระทรวงพลังงาน เพื่อรับฟังนโนยบาย

นายเวียง วรเชษฐ นำเข้าพบนายทศพล เพ็งส้ม ผู้ชาวยรคฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่กระทรวงแรงงาน เพื่อรับทราบนโยบาย

คณะนักธุรกิจมาเลเซีย ได้ดูงานศึกษาดูงานการปลูกหญ้าเนเปียร์ที่อำเภอขามทะเลสอ ดูการดำเนินการโรงไฟฟ้าไบโอแก๊สที่อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคเนื้อโคราชวากิว จำกัด ที่สมาชิกปลูกหญ้าเนเปียร์ และเซ็นสัญญาความร่วมมือในการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากับนายธนกร ภัทรบุญศิริ ประธานบริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีบางกอก และนางนนทนีย์ ภัทรบุญศิริ ในความร่วมมือก่อสร้างโรงไฟฟ้าชุนที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

นายสุรพัฒน์ หมื่นศรีรัชต์ ผู้อำนวยการใหญ่โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อโรงไฟฟ้าชุมชุนชมไบโอแก๊ส กล่าวว่า โรงไฟฟ้าชุมชนตามนโยบายของกระทรวงพลังงานจะต้องเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณรอบโรงไฟฟ้า ที่ผ่านมามีการก่อสร้างระบบโซลาร์เซลล์ หรือระบบกังหันลม ซึ่งชุมชนไม่ได้ประโยชน์ชาวบ้านจึงไม่ให้ความร่วมมือ แนวนโยบายใหม่ จึงต้องการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนระบบไบโอแก๊ส โดยนำหญ้าเนเปียร์ หรือผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ อาทิ ซังข้าวโพด อ้อยมาหมักแก๊ส เพื่อผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบการจ่ายไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ซึ่งนอกจากสร้างความมั่นคงให้กับรับบไฟฟ้าในต่างจังหวัดที่กำลังไฟไม่เพียงพอ ติดๆดับๆแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเนเปียร์ ให้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน

‘โรงไฟฟ้าไบโอแก๊สไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเลย เจนเนอเรเตอร์ที่หมุนผลิตไฟฟ้า เสียงดังไม่ต่างจากมอเตอร์ในบ้าน กลิ่นของหญ้าเนเปียร์ที่หมักมีกลิ่นน้อยมากส่งกลินไม่เกิน 10 เมตร แต่ชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากการขายหญ้าเนเปียร์ หรือผลิตทางการเกษตรอื่นๆ โดยโรงไฟฟ้า 1 โรงจะใช้่ปริมาณหญ้าเนเปียร์ประมาณ 600-1,000 ไร่ ให้ผลผลิตไร่ละ10-15 ตัน ในระเวลา 60-80 วัน ปลูกครั้งเดียวเก็บผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง ตันละประมาณ 500 บาท หากเกษตรมีพื้นที่ 10 ไร่ปลูกหญ้าเนเปียร์เต็มพื้นที่ จะมีรายได้ประมาณ 200,000 บาท ถือว่า เป็นรายได้ที่มั่นคงมาก’ นายสุรพัฒน์ กล่าว

นายสุรพัฒน์ หมื่นศรีรัชต์ กล่าวว่า นักธุรกิจพลังงานของมาเลเซียมีเทคโนโลยีด้านการผลิตไฟฟ้าให้ความสนใจลงทุนโรงไฟฟ้าชุมชุม เบื้องต้นประมาณ 13 MW(13 โรงไฟฟ้า) ในจังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ โดยได้ร่วมทุนกับคนไทย และได้ทำข้อตกลงในความร่วมมือรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรไปบางส่วน เมื่อภาครัฐมีกฎระเบียบที่ชัดเจนออกมาก็สามารถดำเนินการได้ทันที ใช้เวลาก่อสร้าง 14 เดือน ซึ่งระหว่างก่อสร้างเกษตรกรสามารถปลูกหญ้าเนเปียร์เตรียมไว้่ได้เลย