เสียงจากชาวท่าฉาง ความวุ่นวายที่อ่าวบ้านดอน ปัญหามาจากการจัดการภาครัฐ

663

อ่าวบ้านดอน ระอุไปด้วยความขัดแย้ง หลังจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งให้มีการรื้อถอนหลักปักคอกหอยของผู้ประกอบการหอยแครง ที่รุกล้ำพื้นที่อ่าวบ้านดอน ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะมาหลายปี โดยหลังจากชาวประมงพื้นบ้านนับหมื่นลำหาหอยในพื้นอ่าวอำเภอเมือง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จนลูกหอยร่อยหรอ ก็ล่วงล้ำไปยังพื้นที่อำเภอพุนพิน และอำเภอท่าฉาง ที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการ นำไปสู่การเผชิญหน้าของผู้เลี้ยงหอยกับกลุ่มประมงจับหอย

ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ชาวบ้านมองว่า ส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการภาครัฐที่ไร้ประสิทธิภาพและมองปัญหาไม่รอบด้าน

อ่าวบ้านดอน ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ประมาณ 120 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอเมือง อำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอดอนสัก มีพื้นที่ชายฝั่งซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในทางเศรษฐกิจ 400,000 ไร่ สร้างมูลค่ารวมกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของแพลงตอนที่ไหลมากับลำน้ำตาปี เป็นอาหารที่ดีของบรรดาหอยนานาชนิด อ่าวบ้านดอน จึงนับเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ และหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านมาหลายชั่วอายุคน

คำขวัญของจังหวัด ทีมีคำว่า ‘หอยใหญ่’ เป็นหอยนางรม จากอ่าวบ้านดอนนี่เอง แต่หอยที่มีปริมาณมากคือ หอยแครง

ในเริ่มต้นฤดูฝน เป็นช่วงการขยายพันธุ์ของหอยแครง ที่มีลูกหอยตัวเล็กๆนับหลายล้านตัวกระจายไปทั่วอ่าว ที่มากที่สุดบริเวณอำเภอเมือง และกาญจนดิษฐ์ พื้นที่อื่นส่วนใหญ่รับซื้อหอยจากอำเภอเมืองไปเพาะเลี้ยง

ประมาณปี 2520-2522 มีประกาศจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง มีการจัดสรรพื้นที่ทะเลให่้เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ในพื้นที่อำเภอท่าฉาง กาญจนดิษฐ์ และดอนสัก ประมาณ 40,000 ไร่ โดยเฉพาะท่าฉางมีพื้นที่จัดสรรประมาณ 10,000 ไร่ เป็นพื้นที่ให้ชาวบ้านได้ทำกินมายาวนาน โดยที่ท่าฉางการเลี้ยงหอย จะรับซื้อลุกหอยมาจากพื้นที่อ่าวอำเภอเมือง

จากการประมงชายฝั่ง เมื่อมีการจัดสรรพื้นที่ การเลี้ยงหอยแครง จึงกลายเป็นธุรกิจ ชาวบ้านหลายคนหลายเป็นนายทุน แต่ส่วนมากไม่ประสบความสำเร็จ เป็นหนี้เป็นสิน เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้รับการส่งเสริมจากทางราชการเท่าที่ควร บางคนต้องขายที่จัดสรรให้กับผู้ประกอบการ

เมื่อการเลี้ยงหอยกลายเป็นธุรกิจ จึงมีการบุดรุกที่สาธารณะนอกเหนือจากพื้นที่สัมปทาน เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ขายเปลี่ยนมือกันหลายระลอก จนเมื่อปี 2548 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ดำเนินโครงการ Sea Food Bank ตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน กำหนดให้พื้นที่ทางทะเลที่ได้รับสัมปทาน เป็นสินทรัพย์คำประกันเงินกู้ การบุกรุกผืนน้ำสาธารณะจึงมีมากเป็นทวีคูณ ประกอบการความต้องการของหอยในตลาดเพิ่มสูงขึ้น จากเวียดนาม จากจีน ธุรกิจหอยมีมูลค่าสูงมากขึ้น ในระยะเวลา 10 กว่าปีราคาหอยเพิ่มจาก 20-30 บาท/กิโลกรัม เป็น 150-200 บาทต่อกิโบกรัม ในขณะที่ ลูกหอยที่ใช้เป็นพันธุ์หอย ราคาสูง 500-700 บาทต่อกิโลกรัม

ชาวประมงพื้นบ้านจึง เพิ่มจำนวนขึ้น ในเพียงในพื้นที่สุราษฎร์ธานี แต่จากหลายจังหวัด ตั้งแต่สมุทรสงคราม เพชรบุรี ลงไปด้วยซ้ำ จำนวนนับหมื่นลำ ชาวบ้านในพื้นที่เมื่อเห็นมีรายได้ดี ก็ลงทุนซื้อเรือ ซื้อเครื่องเรือ เพื่อหาหอย ปริมาณชาวประมงที่เพิ่มขึ้น นายทุนก็ขยับไปลงทุนมากขึ้น จับจองพื้นที่ในทะเล ขายต่อ เปลี่ยนมือ และบางกลุ่มก็ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ๆรับผิดชอบ จึงไม่มีการจัดการแก้ปัญหา ปล่อยปัญาหาคาราคาซัง จนถึงวันที่จังหวัดสุราษฎร์ฯมีคำสั่งให้รือถอนหลักปักคอก ชาวประมงจึงเหมือนผึ้งแตกรัง ทะลุทะลวงไปทุกพื้นที่อ่าวบ้านดอน ในขณะที่ผู้ประกอบการที่เข้าไปลงทุน จ่ายเงินซื้อที่ จ่ายเงินซื้อลูกหอยมูลค่าปลายล้านบาท หลายคนต้องกู้หนี้ยืมสิน ก็ต้องสิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแงกับผู้บุกรุก

รวมทั้ง กลุ่มชาวบ้านที่ได้รับสัมปทานพื้นที่อย่างในพื้นที่ท่าฉาง และพื้นที่อื่น ได้รับผลกระทบตามมาด้วย

การจับลูกหอยแครง มีเวลาประมาณ 3-4 เดือน ระหว่างพฤษภาคม-ตุลาคม หลังจากนั้น จะเกิดน้ำหลากลงมาปากอ่าวน้ำในพื้นที่จะสูง ไม่สามารถหาหอยได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และความเสียหายแก่คนลงทุนซึ่งล้วนเป็นคนไทย รวมถึงชาวบ้านที่ได้สัมปทาน และฟาร์มบริเวณลีเล็ด อ.พุนพิน ที่จังหวัดประกาศเมื่อปี 2557 อนุญาตให้ผู้ประกอบการเลี้ยงหอยแครงได้ ต้องยกเลิกประกาศ เพราะพื้นที่ตรงนั้น ไม่ใช่พื้นที่กำเนิดหอย แต่เป็นพื้นที่นำหอยมาเลี้ยง ได้ดำเนินการจนสิ้นสุดฤดูกาล ในเวลา 3 เดือนนับจากนี้ จากนั้น จึงใช้มาตรการเด็ดขาดแก้ปัญหา

การแก้ปัญหาแบบใช้รัฐศาสตร์นำจะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย
แต่สำคัญภาครัฐจะต้องมีกฎระเบียบที่ชัดเจน หลายหน่วยงานควรจะบูรณาการให้คำสั่งเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่ต่างคนต่างทำจนเกิดความสับสน เกิดความไม่เข้าใจจนปัญหาบานปลาย

Mtoday เรียบเรียง