‘อนุมัติ อาหมัด’ สมาชิกวุฒิสภา มุ่งมั่นแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ร่วมทีมคณะกรรมาธิการลงพื้นศึกษา ผลักดันแก้ปัญหาด้านการลงทุนและการประกอบอาชีพของชาวบ้าน เพื่อหวังให้เศรษฐกิจภาคใต้ฟื้น ชาวบ้านอยู่ดีกินดี ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
นายอนุมัติ อาหมัด สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงการทำงานในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาว่า นอกจากการทำงานในสภาแล้ว ได้เป็นคณะกรรมาธิการกิจการพลังงาน และคณะกรรมาธิการศาสนา วัฒนธรรม แต่ได้ลาออกมาเพื่อใช้เวลาในการทำหน้าที่อนุกรรมาธิการ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ทุ่มเทกับคณะอนุกรรมาธิการลดความเหลื่อมล้ำ
‘คณะอนุกรรมาธิการฯ เข้าไปศึกษาตั้งแต่ต้นตอว่า พื้นที่ 3 จังหวัดกับ 4 อำเภอ มีความยากจนได้อย่างไร เพราะทรัพยากรธรรมชาติมีความสมบูรณ์ มีทั้งแม่น้ำ มีทั้งทะเล มีภูเขา อยู่ในพื้นที่รอยต่อกับประเทศที่เจริญแล้ว ทำไมคนของเราจึงยากจน ยังว่างงาน มีช่องว่างของรายได้ มีปัญหาความยากจนอันดับต้นๆ ของประเทศมาตลอด ซึ่งพบว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากทรัพยากร แต่มาจากการบริหารจัดการ จึงใช้วิธีการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเข้ามา’ นายอนุมัติ กล่าว
สมาชิกวุฒิสภาท่านนี้ ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นอดีต ส.ว.สงขลา กล่าวว่า ปัญหาการบริหารจัดการ ไม่เกิดจากภาครัฐอย่างเดียว แต่ส่วนหนึ่งมาจากภาคเอกชน และการขาดการมีส่วนร่วม การสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน คนภายนอกอาจจะมองว่า ปัญหาเกิดจากความขัดแย้งแต่จริงๆมาจากหลายปัจจัย ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานมาให้ข้อมูล อาทิ ศอ.บต. กอ.รมน.ส่วนหน้า ผู้ประกอบการ ธนาคาร เจาะปัญหาเข้าไปทีละประเด็นๆ ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐได้ทุ่มเทลงไปไม่น้อย ทั้งมาตรการและการแก้ปัญหา อาทิ การปล่อยซอฟท์โลน ดอกเบี้ย 1.5 ผู้ประกอบการ เมื่อเข้าร่วมโครงการนำเงินไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริงหรือไม๊ มีการตรวจสอบ มีมาตรการการลงโทษหรือไม่ ได้มีการนำมาพิจารณาทุกประเด็น
‘กมธ.พยายามแทรกเข้าไปในช่องว่างของการลงทุน โดยพิจารณากฎหมายที่ทำให้การลงทุนติดขัด และเข้าไปดูว่า 3 จังหวัดมักฎหมายพิเศษ มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีความพิเศษอยู่มาก แต่ทำไมการลงทุนจึงน้อยลง และ3 จังหวัดก็มีเสน่ห์ ไม่เพียงทรัพยากรธรรมชาติ แต่อัธยาศัยของผู้คนก็ดี โอบอ้อมอารี เป็นมิตรกับทุกคน และอยากจะให้ความช่วยเหลือกับคนต่างถิ่น แต่ทำไมการท่องเที่ยวจึงมีน้อย’ นายอนุมัติ กล่าว
นายอนุมัติ กล่าวว่า คน 3 จังหวัดมีความน่ารัก และต้องการอยู่ในกรอบประเพณี วัฒนธรรมของตัวเอง ที่ไม่ได้เกินเลย มีความเรียบง่าย พอเพียง ไม่หรูหรา ฟุ่มเฟือย การเช้าไปดูแล จึงต้องดูแลให้เข้ากับวิถีชีวิตของพวกเขา บางอย่างที่เป็นข้ดจำกัดของกฎหมาย อย่างเรื่องประมง ที่มีการแก้กฎหมายตามกฎIUU แต่ไปกระทบต่อธุรกิจประมงพาณิชย์ ซึ่งก็ได้พิจารณาว่า จะกระตุ้นรัฐบาล จะเยียวยาหรือแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อช่วยเหลือการทำประมง ก็ได้เป็นสะพานเชื่อมต่อกับส่วนราชการ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ให้ความพึงพอใจ เพราะบางอย่างที่เป็นเรื่องเร่งด่วน ก็ประสานตรงกับทางราชการ และหลายเรื่องได้รับการแก้ไขที่เร็วมาก
ปัญหาที่ได้เข้าไปแก้ไข อย่างกรณีผู้ประกอบให้ข้อมูลเรื่องของความล่าช้า ก็ประสานให้เร็วกับการลงทุน ผ่านศอ.บต.ถึงรองนายกฯ ท่านก็เร่งให้เลย เรื่องแรงงานประมง ก็หารือรมว.แรงงาน มีการยกเว้นค่าธรรมเนียม ทำให้ช่วยให้การประมงเดินหน้าไปได้ หรือปัญหาอ่าวปัตตานี ที่ชาวบ้านต้องการกลับมาเพาะเลี้ยงหอย ซึ่งเดิมเป็นเฉพาะของกลุ่มทุนและมีการกระทบกระทั่งกันระหว่างชาวบ้านกับกลุ่มทุน ซึ่งได้เข้าไปแก้ปัญหา ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมมากกว่าให้กลุ่มทุนอย่างเดียว อาจจะต้องวกำหนดเขตหรือส่วนอื่น ซึ่งกำลังเร่งดำเนินการ ในอนาคตจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้าน ส่วนของประมงชายฝั่งก็ได้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยง ในการแปรรูป และการตลาด เป็นต้น
ภาคการท่องเที่ยว ก็ได้ลงไปศึกษาเรื่องทะเลหมอก ซึ่งได้หารือกับกรมป่าไม้ว่า จะให้ชาวบ้านในท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วม มีรายได้อย่างไร จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปชมหมอกที่อัยเยอร์เวง ซึ่งการท่องเที่ยวในพื้นที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปหลายพันคน/วัน ซึ่งในปีใหม่จะมกีารจัดเก็บค่าธรรมเนียม ก็เสนอว่า ทำอย่างไรให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ตรงนี้ด้วย อาทิ การจัดทำ ขายของที่ระลึก ถุงเท้าที่ใส่ขึ้นไปดู ควรให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ ถ้าชาวบ้านมีส่วนร่วมวันหนึ่งหลายพันคู่ เม็ดเงินก็จะตกอยู่ในชุมชน ในพื้นที่ ชาวบ้านก็จะมีความมั่นคงในชีวิต
ส่วนสิทธิพิเศษด้านภาษีที่ได้รับจากการลงทุนในภาคใต้ เป็นแรงดึงดูดเพียงพอให้นักลงทุนไปลงทุนใน 3 จังหวัดหรือไม่ นายอนุมัติ กล่าวว่า ยังมองไม่ออกว่า จะทำอย่างไรให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม มีรายได้ด้วย ถ้าคนในพื้นที่ในงานทำ มีรายได้ มีส่วนร่วม ก็จะมาช่วยเป็นหูเป็นตาในการดูแลความปลอดภัย อย่ามองแต่เรื่องของภาษี แต่อยากให้มองว่า ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมอย่างไร และมีรายได้เพิ่มจากกิจกรรมอื่น
รัฐบาลได้กำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือเมืองต้นแบบ แต่ในทางปฏิบัติกระทรวง ทบวง กรม ก็มีกฎหมายของตัวเอง ซึ่งบางอย่างติดข้อกฎหมาย ซึ่งจะต้องทำให้พิเศษจริงๆ และจะต้องรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์มากกว่านี้ ยกตัวอย่าง การจะสร้างโรงงาน ในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่สีเขียว การจะเปลี่ยนผังเมือง เปลี่ยนสีผังเมือง ต้องใช้เวลานาน ใช้ขั้นตอนเอยะมาก ไม่เอื้อต่อบรรยากาสการลงทุน เป็นความล่าช้าที่นักลงทุนอาจไม่รอ สถาการณ์บางอย่างเศรษฐกิจเปลี่ยนไปเร็ว ราชการจะต้องเร็วกว่าที่เป็นอยู่ เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องพัฒนาตัวเอง ให้เร็วกว่านี้
ส.ว.เข้าไป ได้เจอปัญหาเยอะมาก ก็ได้พยายามนำปัญหาเข้าสู่ผู้มีอำนาจ ให้เร็วขึ้น ซึ่งก็เริ่มเห็นผลมีความรวดเร็วขึ้น การแก้ปัญหาจึงต้องใช้ความสัมพันธ์เข้าไปสนับสนุน ซึ่งส.ว.เข้าไป ไม่มีรผลประโยชน์ ไม่มีปัญหาความขัดแย้งกับใคร ไม่มีอะไรที่เป็นลบ มีแต่ให้ ในส.ว.ในคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เป็นคนเก่งจำนวนมาก โดยเฉพาะอนุกรรมาธิการแก้ความเหลื่อมล้ำ เป็นส.ว.ผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมาธิการฯต่างๆ ไม่มีคนนอก จึงสามารถแก้ปัญหาได้มาก
คณะอนุกรรมาธิการฯ ทำงานในเชิงรุก เจอปัญหาก็แก้ ส่งรัฐบาลแก้ ประสานส่วนราชการมาแก้ไข ไม่ใช่ศึกษาเป็นปี แล้วเสนอรายงาน แต่จะศึกษาไป แก้ปัญหาไป บางครั้งรายงานทางหนังสือไม่ทัน ก็รายงานด้วยวาจา ให้ทันสถานการณ์
‘คณะอนุกรรมธิการฯ ต้องการเข้าไปแก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาอุปสรรคในการลงทุนการทำมาหากินของชาวบ้านติดขัด ไม่ได้รับความสะดวก เราจะเข้าไปแก้ไขไปคลี่คลายปัญหา ซึ่งดีขึ้นในหลายจุด เราพยายามทำให้การค้า การลงทุน ดีขึ้น ชาวบ้านอยู่กินดีขึ้น ให้ความเหลื่อมล้ำลดลง ช่องว่างของรายได้ที่มี เราพยายามเข้าไปทำให้ดีขึ้น และดูแนวโน้มการลงทุน เพื่อเสนอให้ภาครัฐส่งเสริม โดยมีการศึกษารอบด้าน รวบรวมสถิติย้อนหลังมาเป็น 10 ปี ซึ่งวันนี้ สถานการณ์ดีขึ้น ได้รับหารชื่นชื่น การตอบรับจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่’
อนุมัติ กล่าวว่า การแก้ปัญหา คณะอนุกรรมาธิการฯ มองไปข้างหน้า โดยมองว่า หลังโควิด-19 คิดว่า คน 3 จังหวัดที่ไปเปิดร้านอาหาร ร้านต้มยำกุ้งในมาเลเซีย คงไม่เหมือนเดิม คงมีการปฏิรูประบบแรงงาน ซึ่งไทยจะต้องเตรียมการรองรับคนหลายหมื่นคนอย่างไร จะต้องดูว่า จะใช้ทรัพยากรอะไรในพื้นที่ที่ใช้ไม่รู้จักหมด อย่างปัตตานี มีปัญหาประมงพาณิชย์ ทำไม่ได้ คนส่วนหนึ่งตกงาน สูญเสียรายได้ให้มีการเลี้ยงหองแครงมาแทน จะทดแทนรายได้หลักของปัตตานีที่หายไป เพราะครอบคลุมถึง 10 ตำบล มีคนเกี่ยวข้องจำนวนมาก และได้แก้ปัญหาแรงงานโดยได้ประสานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นำแรงงานมาทำงานในโรงงานอย่างที่ เพชรบุรี หลายพันคน รัฐมนตรีท่านนี้ แก้ปัญหาเร็ว ซึ่งกมธ.ได้ทำงานประสานกันตลอด ทำให้คนหนุ่มสาวได้มีโอกาสทำงานในโรงงาน
เรื่องการส่งเสริมการผลิต เราไม่ได้มองแต่อุตสาหกรรมฮาลาล แต่ได้หาทางส่งเสริม การผลิตในครัวเรือน ให้ SMEs พัฒนาตัวเอง วางแผนไว้อย่างเป็นระบบ
‘หลังกมธ.ลงไปทำงาน รับรู้ได้ว่า ชาวบ้านให้การตอบรับดีมาก ได้เข้ามาใช้ช่องทางของ คณะอนุกรรมาธิการฯ แก้ปัญหา จากครั้งแรก เมื่อลงไปครั้งที่ 2 ที่ 3 คนจะเข้ามามากขึ้น ครั้งแรกอาจจะไม่เท่าไหร่ ครั้งที่ 2 อัธยาศัยดีขึ้น และครั้งที่ 3 หุงข้าวเลี้ยงเลย หลายกลุ่มจะเอากระเช้าปีใหม่มาเยี่ยมเยือน เราบอกว่า ให้ส่งโปสการ์ดมาอย่างเดียวก็เพียงพอ เป็นการสรุปได้ว่า การทำงานของคณะอนุกรรมาธิการลดความเหลื่อม ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง คณะอนุกรรมาธิการฯ ไม่ได้เล่นการเมือง ไม่ได้มีส่วนได้เสียทางการเมือง แต่เข้าแก้ปัญหา ทำให้ดีขึ้นจึงได้รับการตอบรับที่ดีจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน’ นายอนุมัติ กล่าวในที่สุด