บันทึกไว้ชั่วลูกหลาน การคัดเลือกตั้งกอจ.สุราษฎร์ฯครั้งที่สกปรกครั้งหนึ่ง

793
การเลือกกอจ. จังหวัดสุราษฎร์ฯ มีการแข่งขันที่เข้มข้น ที่สุด มีการนำวิธีการของนักการเมืองมาใช้เต็มรูปแบบ ทั้งการใช้อุบายหลอกอิหม่ามมากักตัว การข่มขู่คุกคาม การทวงบุญคุณ ตลอดจนการเสนอเงินตอบแทน

ก่อนการการคัดเลือก คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีปัญหาทางจังหวัดไม่ได้ส่งหนังสือเชิญอิหม่ามเข้าร่วมประชุมในวันที่ 27 พฤศจิกายน ตามคำสั่งของปลัดกระทรวงมหาดไทย จนคณะอิหม่ามจำนวนหนึ่งต้องไปทวงถามทางจังหวัด ได้รับคำตอบว่า ไม่ได้รับหนังสือจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือถึงจังหวัด 2 จังหวัด ฉบับแรกให้เลือกกอจ.ภายใน 90 วัน แต่ต่อมาได้มีคำสั่งให้เลือกพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 27 พฤศจิกายน เมื่อทรบว่า มีหนังสืออีกฉบับทางจังหวัดจึงกุลีกุจอ กำหนดการประชุมคณะอิหม่ามในนาทีสุดท้าย ต้องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทำงานวันหยุด เพื่อแจ้งให้อิหม่ามทุกคนรับทราบ ทำให้การประชุมเกิดขึ้นได้

ก่อนการประชุม 2-3 วัน Mtoday ได้รับข้อมูลจากทางอิหม่ามหลายคนว่า มีนักการเมืองท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง มีการใช้อุบายหลอกอิหม่ามมากักตัวไว้ เพื่อกล่อมให้เลือกฝ่ายตัวเองหรือไม่ให้เข้าร่วมประชุมเพื่อตัดคะแนนฝ่ายตรงกันข้าม
อิหม่ามคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า มีคนมาป้วนเปี้ยนอยู่หน้าบ้าน ไม่ให้เข้าออก จนต้องปีนหน้าต่างออกมาจากบ้านไปพักที่อื่นที่ปลอดภัย
อิหม่ามท่านหนึ่งถูกอิหม่ามคนสนิทที่ใกล้ชิดไป ไหนมาไหนด้วยกันบ่อย ชวนไปเที่ยวต่างจังหวัด พอขึ้นรถนำตัวมาพักที่แมนชั่นแห่งหนึ่ง เมื่อถามว่า ไหนว่าจะไปสงขลา ก็บอกว่า สงขลาน้ำท่วม วันที่ 3 ถึงรู้ว่า ถูกหลอกมา จึงให้ลูกชายมารับกลับบ้าน แต่ไม่กล้าเข้าบ้านต้องไปอาศัยที่อื่นที่ปลอดภัย แต่ก็มีโทรศัพท์โทรมาบ่อยครั้ง
อิหม่ามคนหนึ่งเล่าว่า มีคนที่มีอำนาจ ให้ส.จ. มาพาไปไหนก็ได้ ไม่ต้องมาประชุม แต่สจ.บอกว่า ไม่ทำเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

อิหม่ามคนหนึ่งถูกข่มขู่คุกคาม จนไม่กล้าเข้าร่วมประชุม ส่วนอีกคนหนึ่งถูกนักการเมืองท้องถิ่นบีบบังคับให้เลือกฝ่ายตน ส่งคนมาเฝ้าเช้าเย็น สุดท้ายก็ไม่ได้เข้าประชุม อิหม่ามหลายคนมีความเครียดจากการถูกข่มขู่คุกคาม

หลายคนถูกเกลี้ยกล่อมเช้า-เย็น เสนอเงินเสนอทอง แต่ไม่มีใครรับ จนอิหม่ามบางคนเครียด 2-3 ตัดปัญหาไม่เข้าร่วมประชุม

นักการเมืองท้องถิ่นเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเลือกคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เพราะหวังในฐานเสียงของมุสลิมในการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่หลายคนที่ทราบข่าวบอกว่า ไม่เลือกคนนี้แล้ว รับไม่ได้กับวิธีการอันสกปรก

อิหม่ามสุราษฎร์ฯจำนวนหนึ่งถือว่า มีสปิริตสูงมาก แม้ฐานะไม่ได้รวย แต่เห็นแก่ศาสนา เห็นแก่ความดีงามของสังคมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่รับผลประโยชน์ที่หยิบยื่นให้ เพื่อให้เลือกฝ่่ายตน

เข้าสู่การประชุม มีอิหม่ามเข้าร่วมประชุมเกือบครบ จาก 52 มัสยิด มีอิหม่ามที่ถูกบีบ 2-3 คน เกิดความเครียดตัดสินใจไม่เข้าร่วมประชุม ทั้งที่บางคนมีชื่อที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดด้วย

ในที่รประชุมมีการเสนอชื่อ 2 ทีม ทีมละ 25 คนตามกฎหมาย ทีมที่ 1 มีอดีตประธาน 2-3 คน นำทีม มีนายเขตรัตน์ บินล่าเต๊ะ(เทพรัตน์) นายสมนึก เหมประพันธ์ และนายรอมฎัน หาสาเมาะ ชูนายไชยัณห์ ลิหมัด เป็นประธานกอจ. ส่วนที่ทีม 2 นำโดยนายธงชัย ปิติเศรษฐ์ ชูนายธงชัย เป็นประธาน

เมื่อเข้าสู่วาระการประชุม นายเขตรัตน์ อหม่ามประจำมัสยิดกลางสุราษฎร์ฯ เสนอให้ตรวจสอบคุณสมบัติเกี่ยวกับความรู้อิสลามของผู้ได้รับการเสนอชื่อ โดยเสนอให้อ่านอัลกุรอ่านโดยมีอิหม่ามหลายคนอภืปรายสนับสนุน อิหม่ามอีกฝ่าย ให้ความเห็นว่า คนเป็นอิหม่าม ได้รับการกลั่นกรองมาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจอิสลามในระดับหนึ่ง ไม่จำเป็นต้อง ตรวจสอบหรือทดสอบ เสียเวลาการประชุม

.
ปลัดจังหวัดที่ทำหน้าที่ประธาน พยายามอธิบายว่า คุณสมบัติในระบบการตรวจสอบหลังมีการเลือกแล้ว ก่อนเสนอมหาดไทย และผู้ได้รับคัดเลือกก็ต้องรับคุณสมบัติตัวเอง หากไม่เป็นจริงก็มีความผิด เหมือนผู้ใหญ่เลือกกำนัน คุณสมบัติครบอยู่แล้ว ทั้งปลัดทั้งจ่าจังหวัด ผู้ช่วยได้อธิบายแนวทางปลายครั้ง แต่ฝ่าย 3 อดีตประธานก็พยายามให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา สุดท้ายที่ประชุมลงมติว่า ไม่เห็นด้วยให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ประเด็นนี้ ใช้เวลากว่า 1 ชม
.
จากนั้น 2 ฝ่าย เสนอรายชื่อผู้จะได้รับคัดเลือกเป็นกอจ. ทีมละ 25 คน ไชยันห์ ได้ขอถอนตัว ให้เหตุผลว่า คุณสมบัติไม่ครบ อ่านกุรอ่านไม่ได้
.
การเสนอชื่อดำเนินต่อจนครบ 49 คน ฝ่ายหนึ่ง 24 คน ถอนตัว 1 คน อีกทีมเสนอชื่อ 25 คน
.
หลังเสนอชื่อ แคนดิเดทไปแล้ว การคัดเลือกกำลังจะเดินหน้า แต่นายเขตรัตน์ ได้อภิปรายย้อนกลับไปที่ข้อเสนอเดิม ให้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบขึ้นมาอีก ทั้งที่ๆประชุมได้มีมติไปแล้ว ปลัดจังหวัดและจ่าจังหวัด ต้องอธิบายซ้ำหลายรอบ ก็ยังนำเสนออยู่เหมือนเดิม ประะานที่ประชุมจึงตัดบทให้คัดเลือกกันต่อไป นายเขตรัตน์ และทีมอิหม่ามจำนวนหนึ่งจึงเดินออกจากห้องประชุม

การลงมติใช้วิธีลงมติเปิดเผย เจ้าหน้าที่จะขานชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อทีละคน ให้ที่ประชุมลงมติ จนได้รายชื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ได้รับการลงคะแนนเสียงข้างมาก จำนวน 25 คน ประกอบด้วย

1 นายธงชัย ปิติเศรษฐ์
2 นายศิลา วันดี
3 นายมะหมูด การาพิทักษ์
4 นายปียศักดิ์ เต๊ะปู
5 นายวิรัช โต๊ะหลาง
6 นายอนุสรณ์ เลิศรัตนวีรชัย
7 นายสุเทพ รันทดสร้าง
8 นายห้าเสน บุหลัง
9 นายณรงค์ กุลบาล
10 นายสราวุธ ทิพย์หมัด
11 นายอภินันท์ หมัลหลิม
12 นายดะเรต อบรม
13 นายวิทยา ย่าสัน
14 นายอับดุลเลาะ ร่าหมาน
15 นายรุสดี วิชา
16 นายวิโรจน์ โส้ะอ้น
17 นายอนันท์ หยังสู
18 นายสุไหลหมาน เด็กหลี
19 นายณัฐวุฒิ สันหลี
20 นายแอน โระอีน
21 นายดาฮัม หวังเจริญ
22 นายสมศักดิ์ ไสหยิด
23 นายอะสัน มะหนิ
24 นายมูฮำหมัด หวังมุดา
25 นายอาหมาด กิจราช
โดยจะมีการนัดประชุมกันภายหลัง เพื่อเลือกประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด กรรมการอิสลามประจำจังหวัด รองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เลขานุการคณะกรรมการฯ โดยทีมนายธงชัย วางตัวนายธงชัย เป็นประธานและกรรมการกลางฯ
.
ประวัตินายธงชัย ปิติเศรษฐ์
เกิดที่พุมเรียง รากเหง้าเหล่ากอคนพุมเรียง ตอนเด็กอยู่พุมเรียง เติบโต เข้ากทม. เรียนจบ ทำงาน ตั้งบริษัทตัวเอง มีฐานะอยู่ในระดับที่ช่วยสังคมได้ กลับมาพุมเรียง มาเป็นมือบน สร้างมัสยิด ตั้งกองทุน มูลนิธิช่วยชาวบ้าน จ่ายเงินเดือนครูสอนศาสนาเป็นประจำทุกเดือน จนอิหม่ามจำนวนมาก เรียกร้องให้มาทำหน้าที่ประธานกอจ.
เป็นมือบน ที่ช่วยเหลือสังคมมาตลอด ได้รับทาบทามจากอิหม่ามหลายครั้งให้มาช่วยบริหารคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จึงได้ตอบตกลง
ด้านศาสนา เรียนพื้นฐานศาสนาจากโต๊ะครูในวัยเด็ก จบกุรอ่าน จากครูตอยิบ และขวัญ

ธงชัย ปิติเศรษฐ์ถูกวางตัวเป็นประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและกรรมการกลางฯ