ดันท่าเรือเทพาเชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย’อนุมัติ อาหมัด’ ผู้มาก่อนแลนด์บริดจ์

168

ท่าเรือเทพา ที่จังหวัดสงขลา ของ’อนุมัติ อาหมัด’ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กำลังเป็นจุดเชื่อมรอยต่อระหว่างท่าเรือฝั่งอนดามันที่ปีนังกับฝั่งอ่าวไทย ไปยังจีน เวียดนาม กัมพูชา รวมทั้งท่าเรือกรุงเทพฯและมาบตาพุด ก่อนโครงการแลนด์บบริดจ์ ระนอง-ชุมพร ที่ไม่รู้ว่า จะเกิดขึ้นหรือไม่

ท่าเรือเทพา ตั้งอยู่ตรงปากน้ำเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ห่างจากทะเลอ่าวไทยเพียง 2 กิโลเมตร ห่างพื้นที่น้ำลึกเพียง 7 ไมล์ทะเล มีแหลมเล็กๆ ขวางกั้นคลื่นลมจากทะเลพัดมายังท่าเรือ ก่อสร้างเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ได้นำไปสู่การขนส่งระหว่างใน 4-5 จังหวัดภาคใต้ และการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ไปยังต่างประเทศ มีการขนส่งปีละนับล้านตัน และจะเพิ่มอีกหลายเท่าตัว เมื่อท่าเรือเฟส2 ก่อสร้างเสร็จสิ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

อนุมัติ อาหมัด เจ้าของท่าเรือเทพา

ท่าเรือเทพาปัจจุบันรองรับการส่งพาเลสไม้ยางพารา จากโรงงานในจังหวัดชายแดนใต้ไปยังประเทศในยุโรป ปีละนับแสนตัน จนต้องสร้างโกดังรอบรับ 3 โกดัง ขนส่งหินบดละเอียดจากโรงงานที่อ.จะนะไปยังประเทศสิงคโปร์ ขนสินค้าปูนซิเมนต์ของ TPIPL จากเรือกรุงเทพฯ ไปยัง3จังหวัดภาคใต้ และกำลังจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าจากภาคกลางไปยังพื้นที่ภาคใต้ ด้วยต้นทุนที่ประหยัดกว่า

‘ตอนนี้ท่าเรือสงขลาแออัด ไม่สามารถขยายได้แล้ว แต่ท่าเรือเทพามีพื้นที่ 700 ไร่ สามารถรอบรับการสขนส่งสินค้าได้มาก ซึ่งการขนส่งทางน้ำประหยัดได้มากกว่า อย่างปูนTPIPL ส่งมาแบบบิ๊กแบค จากเดิมทีส่งให้แพลนท์นำไปผสม 3,600 บาท/ตัน เหลือ 2,800 บาท/ตัน จนรายอื่นมาเจรจาขอขนส่งผ่านท่าเรือเทพา แต่ยังไม่ตอบรัยบ เพราะท่าเรือยังรองรับไม่เพียงพอ’ อนุมัติ อาหมัด อดีต สมาชิกวุฒิสภา เจ้าท่าเรือเทพ กล่าว

เขา กล่าวว่า ต่อไปการขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯลงไปภาคใต้จะต้องเปลี่ยนจากการขนส่งทางรถบรรทุก เป็นการขนส่งทางเรือแทน เพราะประหยัดต้นทุนได้หลายเท่าตัว เรือขนส่ง 8,000 ต้น มีต้นทุนค่าขนส่งล้านกว่าบาท แต่ถ้าใช้รถบรรทุก คันละ 28,000 บาท/40 ตัน ใช้รถสิบล้อพ่วง 200 คัน ค่าขนส่ง 5 ล้านกว่าบาท ตอนนี้กำลังเจรจากับบริษัทผู้ผลิตสินค้าขนาดใหญ่หลายรายเพื่อมาใช้บริการท่าเรือเทพา

อนุมัติ กล่าวว่า ท่าเรือเทพา อยู่ในระนาบเดียวกับท่าเรือปีนัง มีด่านประกอบรองรับ ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือปีนังมายังท่าเรือเทพา ใช้เวลาไม่นาน ตอนนี้กำลังจะเริ่มก่อสร้างท่าเรือเฟส2 เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ ขนจากท่าเรือปีนังมาลงเรือที่ท่าเรือเทพา ซึ่งแม้ขั้นตอนจะซับซ้อน แต่ประหยัดเวลาได้มากกว่า การอ้อมแหลมมลายู

‘จากท่าเรือเทพา ไปท่าเรือโฮจิมินห์ ใกล้กว่าไปท่าเรือกรุงเทพฯ แต่ 200 กว่ากิโลเมตร ไปท่าเรือศีหนุวิลล์ยิ่งใกล้กว่าอีก ไปท่าเรือมาบตาพุด หรือท่าเรือกรุงเทพฯ ก็สะดวกหรือจะไปขึ้นท่าเรือที่จีนก็สะดวก เมื่อท่าเรือเฟส2 ก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งใช้เวลาไม่กี่เดือน ก็จะเปิดการขนส่งเชื่อม2ฝั่งทะเล ชาวบ้านในพื้นที่ก็จะได้ประโยชน์ สร้างโกดังให้เช่า ให้เชาที่ตั้งตู้คอนเทนเนอร์ หรือจะขายสินค้า บริการก็สามารถทำได้ ตอนนี้แม่ค้าที่เทพา เงินสะพัดมาก เพราะคนเรือเข้ามาก็ซื้ออาหาร ซื้อเครื่องใช้ จะออกทะเลก็ซื้อตุนไปอีก สร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ท่าเรือกับชาวบ้านจึงเอื้อต่อกัน ท่าเรืออยู่ร่วมกับชาวบ้านได้ ชาวบ้านได้ประโยชน์ต่อไปก็จะได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น ตอนนี้ที่ดินที่เทพา ราคาสูงขึ้นมาก’ อนุมัติ กล่าว พร้อมทิ้งท้ายว่า โครงการแลนด์บริดจ์ไม่รู้จะได้สร้างเมื่อไหร่ และไม่รู้เมื่อไหร่จะเสร็จ แต่ท่าเรือเทพา จะทำหน้าที่เชื่อมต่ออันดามันกับอ่าวไทยก่อนแลนด์บริดจ์แน่นอน