ครองเอี๊ยะรอมจากเมืองไทย ไม่ต้องเสีย”ดัม” แต่ถ้าละเมิดกฎเกณฑ์ อาจจะเสียมากกว่า

4532

การประกอบพิธีฮัจย์ของพี่น้องมุสลิม ส่วนประกอบสำคัญคือ การ”ครองเอี๊ยะรอม” ซึ่งระหว่างครองเอี๊ยะรอม จะต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ในการเดินทางไปฮัจย์เราจะเห็นมีฮุจยาตบางส่วน”ครองเอี๊ยะรอม”ตอนออกจากบ้าน ถ้าเป็นคนก็เหนียดจากประเทศไทยไปเลย เรียกว่า การทำฮัจย์ แบบอิฟรอด แบบนี้ ไม่ต้องเสียดัม หรือเสียแพะ 1 ตัว ซึ่งเป็นการดีกว่า เพราะอยู่ในอีบาดะห์นานกว่า

การฮัจย์อีกแบบหนึ่ง ที่คนไทยนิยมทำ เนื่องจากไปอยู่ที่มาดีนะห์และมักกะห์ เป็นเวลานาน คือการไปครองเอี๊ยะรอมเพื่อทำอุมเราะห์ก่อน เรียกว่า ฮัจย์แบบตามัตตั๊ว การทำฮัจย์ แบบนี้จะต้องเสียดัม หรือแพะ 1 ตัว ประมาณ 5,000 บาท ซึ่งแซะส่วนใหญ่จะเก็บรวมไปในคราวเดียวกัน แต่บางแซะไปเก็บอีกต่างหาก โดยเฉพาะคนที่เดินทางล่วงหน้าไม่ก่อนฮัจย์เป็นเวลานาน ไม่ครองเอี๊ยะรอมแบบอิฟรอด

ข้อปฏิบัติในระหว่างการ การครองเอี๊ยะรอม ห้ามทำลายขนในร่างกาย เช่น ผม ขนรักแร้ ขนอวัยวะเพศ ขนจมูก เป็นต้น ด้วยวิธีการใดๆโดยเด็ดขาด เช่น การถอน การโกน การใส่ยาให้ขนร่วง หรือวิธีการอื่น และจะต้องกิน นอนด้วยชุด เอี๊ยะรอมตลอดเวลา หากทำผิด ก็จะต้องเสียดัม ซึ่งหากครองเป็นเวลานานอาจจะเสียเป็นข้าวสาร ส่วนใหญ่จึงไม่ทำฮัจย์แบบอิฟรอด

ด้วยมีข้อห้ามที่เข้มงวด จึงมีแนะนำก่อนครองเอี๊ยะรอม ให้อาบน้ำ โกนหนวด และตัดเล็บของคุณ และ คลิบขนรักแร้ ขนในร่มผ้า แต่การตัดหรือโกนเครา เป็นสิ่งที่หะรอม ไม่อนุญาตให้โกนได้ เพราะแค่ทำผมหลุดร่วงโดยเจตนา หรือใส่เครื่องหอม ก็ถอว่า ผิดแล้ว

รายละเอียดข้อห้ามขณะอยู่ในเอียะห์รอมมี 7 ประการ
• เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม
สำหรับฮุจญาจชาย
• ห้ามปิดศีรษะ ทั้งหมดหรือบางส่วนของศีรษะ
• ห้ามสวมใส่ด้วยเครื่องนุ่งห่มที่เย็บติดกัน หรือทอต่อกัน เช่นกาง เกง เสื้อ เป็นต้น
• ห้ามสวมรองเท้า แบบหุ้มส้นเท้า และปลายนิ้วเท้า
• ห้ามสวมใส่ เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับที่เป็นวงกลม หรือ เย็บต่อกันเป็นวง
สำหรับฮุจญาจหญิง
• ห้ามสวมเครื่องแต่งกายแบบปิดใบหน้า
• ห้ามปิดฝ่ามือ ด้วยการสวมใส่ถุงมือ
• ไม่ห้ามเสื้อผ้าที่ตัดเย็บ หรือทอติดกัน เช่นเดียวกันกับฮุจญาจชาย
• เครื่องหอม เครื่องประทินผิว ทั้งฮุจญาจชาย และหญิง ห้ามใส่ หรือพรมน้ำหอม หรือ เครื่องสำอางที่ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม หรือที่นอน
• การใส่ครีมแต่งผม ทาเครา และทาร่างกาย
ครีมหรือน้ำมันประเภทนี้มักผลิตเป็น ๒ ชนิด คือ ชนิดมีกลิ่นหอม และไม่มีกลิ่นหอม สำหรับครีมหรือน้ำมันประเภทมีกลิ่นหอม ห้ามใช้ทั้งเป็นครีมแต่งผม หรือใส่ที่เครา หรือร่างกาย เช่นเดียวกันกับเครื่องหอม และเครื่องประทินผิว
ส่วนประเภทที่ไม่มีกลิ่นหอม สามารถทางตามผิวกายได้ แต่ห้ามทาหรือใส่ผม หรือเครา