ร้อยเรื่อง…ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน4 “จาก 1 แตกเป็น 3…3 ผสานสู่ความเป็น 1”

190
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)

ก่อนที่จะย้ายบ้านจากอาคารจุฬาพัฒน์ 6 ซอยจุฬาลงกรณ์ 12 ข้ามฟากมายัง อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์ ชั้นที่ 11 , 12 และ 13  รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ได้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล สำนักงานจังหวัดปัตตานี ขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2552 โดยแต่งตั้งให้ ผศ.ดร.บรรจง ไวทยเมธา อดีตข้าราชการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ฯ ดูแลรับผิดชอบงานในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ และ IMT-GT (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle)

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)

ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  เสด็จฯ ไปทรงเปิดแพรคลุมป้ายศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานใหญ่  ณ อาคารวิจัยจุฬาฯ อย่างเป็นทางการ  และเพื่อให้การดำเนินงานสามารถครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในปีเดียวกันนั้น  จึงได้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ฯ จุฬาฯ สำนักงานเชียงใหม่ขึ้นอีกแห่งเพื่อสนับสนุนการขยายบริการครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS)

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  เสด็จฯ ไปทรงเปิดแพรคลุมป้ายศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานใหญ่  ณ อาคารวิจัยจุฬาฯ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานเชียงใหม่)

และล่าสุด เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา ท่านจุฬาราชมนตรี อาศิส พิทักษ์คุมพล เดินทางมาทำพิธีเปิด ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารสำนักงานสวนหลวงสแควร์ จุฬาซอย 12 พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้มีเกียรติอีกหลายท่าน สำนักงานสวนหลวงสแควร์แห่งนี้จะใช้เป็นสถานที่ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง / ขนาดย่อม และ Start-up ซึ่งประชาชนสามารถเข้ามาขอรายละเอียด รวมทั้งเข้ารับการอบรมต่างๆ ได้สะดวก ทั้งยังเป็นที่ทำการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย  โดยมีห้องละหมาด ห้องสมุด มีที่จอดรถให้บริการ และยังมีร้านอาหารฮาลาลอยู่ในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

 

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนหลวงสแควร์
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน รับมอบดอกไม้จาก ศ.ดร.บัณฑิต  เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เขียนในหน้าเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า หน่วยงานภายใต้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลซึ่งขณะนี้มีสามสำนักงานคือ กรุงเทพฯ  ปัตตานี และเชียงใหม่ ทั้งสามสำนักงานนำเสนองานเด่น ๆ ขึ้นมาโดยจัดเป็นกลุ่มกิจกรรม ซึ่งเราเรียกว่า House หรือบ้าน อย่างเช่น

HAFANAH (Halal Food and Nutrition Alert House) in Pattani for Consumers & Communities Benefits เรียกว่า “ฮาฟานะฮฺ” จัดตั้งขึ้นที่สำนักงานปัตตานี เป็นกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคฮาลาล และชุมชนมุสลิมด้านอาหารและโภชนาการฮาลาล

HABIDAH (Halal Big Data House) in Chiangmai for IT Platform Development (SPHERE) เรียกว่า “ฮาบีดะฮฺ” จัดตั้งขึ้นที่สำนักงานเชียงใหม่ ทำงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมเครือข่ายต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า SPHERE งานที่เราให้ความสำคัญขณะนี้คือการพัฒนาบิ๊กดาต้าด้านฮาลาล ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว

SAHABAH (Scientific Aided-Halal Authentication for Business Assistance House) in Bangkok for Startups เรียกว่า “ซอฮาบะฮฺ”เพื่อใช้วิทยาศาสตร์สนับสนุนสภาพฮาลาล ในการดำเนินงานธุรกิจโดยเน้นด้านสตาร์ทอัพ คือ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ฯ อาคารสำนักงานสวนหลวง นั่นเอง

เริ่มต้นจากพื้นที่เพียง 32 ตารางเมตร และบุคลากรเพียงคนเดียวในขณะนั้น 14 ปีผ่านไป ขยายพื้นที่มากกว่า 4,500 ตารางเมตร มีบุคลากรเพิ่มเป็นกว่า 90 คน สร้างผลงานในระดับชาติ และนานาชาติมากมาย ภายใต้การนำของ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน คนนี้นี่เอง

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ อาคารจุฬาพัฒน์ 6
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ อาคารจุฬาพัฒน์ 6
บรรยากาศงานเปิดสำนักงานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สวนหลวงสแควร์ และแสดงนิทรรศการ 14 ปี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ
บรรยากาศงานเปิดสำนักงานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สวนหลวงสแควร์ และแสดงนิทรรศการ 14 ปี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ
บรรยากาศงานเปิดสำนักงานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สวนหลวงสแควร์ และแสดงนิทรรศการ 14 ปี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ
บรรยากาศงานเปิดสำนักงานศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สวนหลวงสแควร์ และแสดงนิทรรศการ 14 ปี ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ