หน้าแรก วาไรตี้ แต่งแบบไทย “ผ้าสมัยการเกด” มาจากไหน

แต่งแบบไทย “ผ้าสมัยการเกด” มาจากไหน

264
“ผ้าลายอย่าง” ที่นางเอกในละครทีวี บุพเพสันนิวาส ที่ออกกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

กระแสแต่งกายแบบไทยกลับมานิยมอีกครั้ง โดยมีจากงานอุ่นไอรักที่เพิ่งหมดไป ตามด้วยละครทีวี “บุพเพสันนิวาส”  ทำให้ได้เห็นผ้าผืนงามที่เหล่าแม่หญิงนุ่มห่มกันว่าแต่ผ้าสวยๆ เหล่านี้มาจากไหน !!!

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงพบว่านอกจากผ้าที่ทอขึ้นใช้เอง ยังมีการสั่งซื้อจากต่างประเทศ  ได้แก่ ประเทศเปอร์เซีย, อินเดีย และจีน ผ้าเหล่านี้เรียกว่า “ผ้านอก”

เฉพาะผ้าที่นำเข้าจากประเทศอินเดียและเปอร์เซีย เรามักจะเรียกชื่อเมืองนั้นเป็นชื่อผ้า เช่น ผ้าอัตลัด มาจากเมืองอัตลัดในอินเดีย หรือเป็นชื่อจากภาษาเดิมตามประโยชน์การใช้สอย เช่น ผ้าสุจหนี่ ผ้าเยียรบับ

ผ้าลายอย่าง ที่ผสมผสานระหว่างเก่ากับใหม่ (ภาพจากเฟซบุ๊ก มีนา ชัยเนตร)

สำหรับประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่นำเข้าผ้ามาจำหน่ายในไทยนั้น ช่างไทยจะออกแบบลวดลายส่งไปว่าจ้างช่างอินเดียในประเทศอินเดียให้เขียนและพิมพ์ตามต้นแบบ (เช่นเดียวกับ การเขียนลายกระเบื้อง ลายเครื่องถ้วย ส่งไปให้ช่างจีนทำในประเทศจีน) จึงมีการผสมผสานทั้งลวดลายไทยและอินเดีย

เมื่อส่งกลับมาขายในประเทศไทย จึงเรียกผ้านี้ว่า “ผ้าลายอย่าง”  และ “ผ้าลายนอกอย่าง” ในยุคต่อๆ มา

ผ้าลายอย่าง ลวดลายต่างๆ (ภาพจากเฟซบุ๊ก มีนา ชัยเนตร)

หากในปัจจุบันมีการทำ “ผ้าลายอย่าง” ในรูปแบบผสมผสาน หนึ่งในจำนวนนั้นคือ “มีนา ชัยเนตร”  อดีตนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

มีนา ชัยเนตร นำลวดลายไทยที่พบเห็นจากงานศิลปกรรม งานสถาปัตยกรรม มาจัดวาง ให้สีสันตามแบบโบราณ หากพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีเยอรมัน และทำการตลาดให้ผ้าแต่ละรุ่น แต่ละลายมีจำกัดเพียง ๒๕ ผืน

สำหรับอาณาจักรอินเดีย เมื่อสมัยกรุงศรัอยุธยาอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โมกุล มุสลิม

ศิลปวัฒนธรรม