หลังศาลมีคำสั่งจำคุกชายชุดดำที่ก่อเหตุยิงทหารแยกคอกวัว ในการชุมนุมปี 2553 คำถามถึงแกนนำนปช.
.. ย้อนกลับไป เมื่อปี 2553 สำหรับคดี กรณี ‘การ์ดชุดดำ นปช.’ ที่ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามยิงใส่เจ้าหน้าที่ทหารและผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ส่งผลให้พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เสียชีวิตลงระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบให้กับผู้ชุมนุมในบริเวณดังกล่าว
.. ทางพนักงานสอบสวนนั้นก็ได้มีการออกหมายจับทั้งหมด 7 คน จับกุมตัวได้ 5 ราย และช่วงนั้นยังอยู่ระหว่างการหลบหนี 2 ราย
#ผู้ต้องหาทั้ง 5 ราย ประกอบด้วย
1. นายกิตติศักดิ์ สุ่มศรี หรืออ้วน อายุ 45 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา 1600/2557 ลงวันที่ 10 ก.ย.2557
2. นายปรีชา อยู่เย็น หรือ ไก่เตี้ย อายุ 24 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1603/2557 ลงวันที่ 10 ก.ย.2557
3. นายรณฤทธิ์ สุริชา หรือ นะ อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1604/2557 ลงวันที่ 10 ก.ย.2557
4. นายชำนาญ ภาคีฉาย หรือ เล็ก อายุ 45 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1605/2557 ลงวันที่ 10 ก.ย.2557
5. นางปุณิกา ชูศรี หรือ อร อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1606/2557 ลงวันที่ 10 ก.ย.2557
#ผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการหลบหนีอีก 2 ราย ประกอบด้วย
1.นายธนเดช เอกอภิวัชร์ หรือ ไก่รถตู้ อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 16001/2557 ลงวันที่ 10 ก.ย.2557
2. นายวัฒนะโชค จีนปุ้ย หรือ โบ้ อายุ 23 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1602/2557 ลงวันที่ 10 กย.2557
ตามข้อมูลของสำนักข่าวทีนิวส์ ระบุหลักฐานที่น่าสนใจและอาจจะเชื่อมโยงไปถึงตัวผู้บงการ ก็คือ ข้อมูลของ 1 ในผู้ต้องหาที่กำลังหลบหนี คือ ‘นายธนเดช เอกอภิวัชร์’ หรือ ‘ไก่ รถตู้’
ซึ่งนายธนเดชนั้นเป็น ‘คนขับรถตู้’ ให้กับกลุ่ม #ชายชุดดำ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 และภาพจากกล้องซีซีทีวี บริเวณแยกสี่กั๊ก ที่บันทึกภาพนายธนเดชได้ขับพา #ชายชุดดำ เข้าไปก่อเหตุ บริเวณ 4 แยกคอกวัว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อเวลา 20 นาฬิกา 19 นาที
.. หลังจากมาถึงบริเวณ 4 แยกคอกวัว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย #กองกำลังติดอาวุธชายชุดดำ ก็ได้ลงจากรถตู้และก็ได้ปฏิบัติการก่อเหตุ
โดยหลังจากที่ #ชายชุดดำ นั้นได้ปฏิบัติภารกิจเสร็จก็ได้ขับรถตู้กลับออกมาผ่านทางแยก 4 กั๊ก และกล้องซีซีทีวี ก็สามารถบันทึกภาพได้อีกครั้ง ในเวลา 21 นาฬิกา 1 นาที
และนี่ก็คือโฉมหน้าของ ‘นายธนเดช’ คนขับรถตู้ให้กับกลุ่ม #ชายชุดดำ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่กลุ่ม #ชายชุดดำ เรียกว่า ‘ไก่ รถตู้’
ซึ่งในเวลาต่อมา ‘แม่ของนายธนเดช’ ได้เสียชีวิตลง ซึ่งในงานศพ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปี 2553 บรรดา ‘แกนนำ นปช. หลายคน’ ก็ได้ส่งพวงหรีดไปร่วมไว้อาลัย ก็คือ ..
1. นายชินวัฒน์ หาบุญพาด
2. นายจรัล ดิษฐาอภิชัย
3. นายพายัพ ปั้นเกตุ
4. นายขวัญชัย ไพรพนา
5. พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์
และ 6. นายจักรภพ เพ็ญแข
ขอถามว่า ‘แกนนำ นปช.’ ไปมีความสัมพันธ์กับ ‘คนขับรถตู้’ รับส่ง #ชายชุดดำ ถึงขนาดที่ส่งพวงหรีดไปร่วมแสดงความเสียใจในงานศพของ ‘แม่นายธนเดช’ ได้อย่างไร???
และข้อมูลในส่วนนี้ที่มีความสำคัญว่า ‘แกนนำ นปช.’ ตามที่ปรากฏอยู่ในรายชื่อได้ส่งพวงรีดไปงานศพของ ‘แม่นายธนเดช’ จริงหรือไม่???
และที่สร้างความสงสัยให้กับทางประชาชนเป็นอย่างมาก ก็คือ ท่าทีของทางกลุ่ม ‘แกนนำ นปช.’ และ ‘ทนายความตนเสือแดง’ ที่พยายามให้ความช่วยเหลือ ‘5 กองกำลังชายชุดดำ’ มาโดยตลอด ทั้ง ๆ ที่ ‘แกนนำ นปช.’ อ้างกับสังคมมาโดยตลอดว่า ‘คนเสื้อแดง’ และ #กองกำลังชุดดำ’ นั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด (ไม่เข้าใจ)
โดยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2557 ‘นายจตุพร พรหมพันธุ์’ ประธาน นปช. พร้อมด้วย ‘นางธิดา ถาวรเศรษฐ’ และ ‘นพ.เหวง โตจิราการ’ ‘แกนนำ นปช.’ เดินทางเข้าพบ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการตามหลักนิติรัฐ นิติธรรมอย่างเร่งรัด เกี่ยวกับคดีจับกุม #ชายชุดดำ
‘นายจตุพร’ กล่าวภายหลังเข้าพบว่า ‘กลุ่ม นปช.’ มีจุดยืนชัดเจนมาตั้งแต่แรกว่า การตายของทหารและประชาชน ไม่ว่าคนร้ายจะเป็นชายชุดใดก็ตาม จะต้องถูกดำเนินการฐานฆ่าคนตายตามกฎหมาย
และเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2553 ถึงปัจจุบัน ได้มีการไต่สวนชันสูตรพลิกศพเกี่ยวกับความตายที่ผิดธรรมชาติ โดยมี 12 คดีที่ศาลไต่สวนเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นความตายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และมีอีกหลายคดีที่อยู่ในระหว่างการทำสำนวน
เมื่อถามถึงกรณี ‘นายธนเดชเอกอภิวัชร์’ หรือ ‘ไก่ รถตู้’ ซึ่งเป็น ‘คนขับรถตู้’ ในวันก่อเหตุ เมื่อปี 2553 ที่ยังหลบหนีอยู่นั้น โดยมีข้อมูลเปิดเผยว่า เมื่อปี 53 ‘มารดาของนายธนเดช’ ได้เสียชีวิต และมีรายชื่อของ ‘แกนนำ นปช.’ ส่งพวงหรีดไปให้นั้น ‘นายจตุพร’ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องขอให้ไปถามคนที่ส่งพวงหรีด เพราะตนไม่ได้ส่งไป เพราะเรื่องพวงหรีด พอเวลามีคนเสื้อแดงถึงแก่ชีวิต ก็จะมีการขอพวงหรีดไปทางใครต่างๆ เพราะฉะนั้นควรจะไปถามคนที่มีชื่อในพวงหรีดมากกว่า ว่าส่งไปร่วมในฐานะอะไร(??) จะได้ความจริงมากกว่า ทั้งนี้ ยืนยันว่า ไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้อง และไม่รู้จักกับกลุ่ม #ชายชุดดำ ขณะที่มั่นใจว่าจะไม่สร้างความขัดแย้ง เพราะเป็นการออกมาตามกรอบกติกา ไม่เป็นการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง
ซึ่งในวันนี้ 31 ม.ค.2560 ศาลอ่านคำพิพากษาคดีที่อัยการฟ้อง
1. นายกิตติศักดิ์ สุ่มศรี หรือ อ้วน
2. นายปรีชา อยู่เย็น หรือ ไก่เตี้ย
3. นายรณฤทธิ์ สุริชา หรือ นะ
4. นายชำนาญ ภาคีฉาย หรือ เล็ก
5. นางปุณิกา ชูศรี หรือ อร
ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 – 5 ที่ก่อเหตุใช้ #อาวุธสงครามยิงใส่เจ้าหน้าที่ทหารและผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกคอกวัว กรณีร่วมกันพกอาวุธ เครื่องกระสุน และวัตถุระเบิด อาทิ
– เครื่องยิงลูกระเบิด M79
– ปืน M16
– ปืน HK33
หรือ – ปืนอาก้า
ไปตามบริเวณแยกคอกวัว ถนนตะนาว ถนนประชาธิปไตย เขตพระนคร เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ส่งผลให้ ‘พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม’ (พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ในขณะนั้น) อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.21 รอ.) เสียชีวิต ในช่วงระหว่างการชุมนุมและขอคืนพื้นที่ของกลุ่ม #แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.
โดยศาลพิเคราะห์แล้วว่า โจทก์มีเจ้าหน้าที่ทหารเบิกความว่า ในวันเกิดเหตุเห็นรถตู้สีขาวขับผ่านใกล้ที่ชุมนุมของ ‘กลุ่ม นปช.’ โดยมี ‘นายกิตติศักดิ์’ จำเลยที่ 1 ชะโงกหน้าออกมานอกรถ และมี ‘ปืน M16’ และ ‘ปืนอาก้า’ อยู่ในรถ รวมถึงยังมี ‘พี่สาวของจำเลยที่ 1’ เบิกความว่า จำเลยที่ 1 มีอาชีพขับรถตู้โดยสารไปร่วมชุมนุมกับ ‘กลุ่ม นปช.’ หลายครั้ง
นอกจากนี้ โจทย์ยังมี ‘คนขับรถตู้วินเดียวกันกับจำเลยที่ 1’ เบิก
ความสนับสนุนด้วย ประกอบกับ ‘คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวน’ ถึงแม้จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าถูกข่มขู่ แต่ ‘พยานโจทก์ทุกปาก’ ก็เบิกความสอดคล้องกัน ไม่มีข้อสงสัย และจำเลยที่ 1 อ้างว่า ตัวเองนั่งรถตู้มาร่วมชุมนุม แต่เข้าไปไม่ได้ จึงเดินทางกลับไปที่ จ.ลำปาง จึงชี้ชัดว่า จำเลยที่ 1 ไปในที่เกิดเหตุจริง แต่ไม่นำพยานที่อ้างว่า เดินทางไป จ.ลำปาง มาเบิกความยืนยัน ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้
ซึ่งโจทก์มี ‘เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวนที่แฝงตัวในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช.’ เบิกความว่า พบ ‘นายปรีชา จำเลยที่ 2’ สวมหมวกไหมพรมปิดบังหน้า ในที่ชุดนุม และสามารถถ่ายภาพขณะถอดหมวกไว้ได้ ประกอบ ‘คำเบิกความของจำเลยที่ 2 ยอมรับว่า ตนเองเป็นการ์ด นปช. จริง’ แต่ในวันเกิดเหตุไปรับจ้างเดินสายไฟให้หน่วยงานราชการที่แจ้งวัฒนะ ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุม แต่ก็ไม่นำผู้ว่าจ้างหรือสัญญาจ้างมายืนยัน เป็นเพียงคำกล่าวอ้าง ไม่น่าเชื่อถือ ประกอบ ‘คำรับสารภาพในชั้นสอบสวน’ พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนัก รับฟังได้ว่า ‘นายกิตติศักดิ์ จำเลยที่ 1’ และจำเลยที่ 2 ทำผิดตามฟ้อง ฐานร่วมกันพกพาอาวุธไปในที่สาธารณะ หรือชุมชน และมีอาวุธ เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอณุญาตได้ ตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ.2490 พิพากษา ‘จำคุก คนละ 10 ปี’
ส่วนจำเลยที่ 3, 4 และ 5 แม้ว่า ‘ในชั้นสอบสวนจะให้การรับสารภาพ’ แต่เจ้าหน้าที่มีเพียงบันทึกคำซักถามและคำให้การของผู้ต้องหาเท่านั้น เป็นเพียงพยานบอกเล่าและให้คำซัดทอด แม้จะมีภาพถ่ายชี้ที่เกิดเหตุ แต่ไม่ประจักษ์พยานเบิกความสนับสนุน จึงมีเหตุให้สงสัย ไม่มีน้ำหนัก พยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ จึงยกประโยชน์ให้จำเลยที่ 3, 4 และ 5 พิพากษายกฟ้อง แต่ให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์
ด้าน ‘นายวิญญัติ ชาติมนตรี’ #ทนายความคนเสื้อแดง ระบุว่า เตรียมปรึกษาทีมทนายความ เพื่อยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และ 2 ต่อไป
Cr.สำนักข่าวทีนิวส์