นายกฯงัดมาตรา 9 พรบ.ฉุกเฉินฉ.4 ล็อคดาวน์ผู้ว่าฯคลายกฎ

538

พล.อ.ประยุทธ์ ออกประกาศศบค.ฉบับที่ 4 หลังครม.ต่ออายุพรบ.ฉุกเฉิน ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศ ข้อบังคับของจังหวัด ล็อคดาวน์ได้ ตามมาตรา 9

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548(ฉบับที่ 4 ) ใจความว่า

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 แล้ว นั้น

โดยที่รัฐบาลได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเป็นลําดับอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคงร่วมกันประเมินสถานการณ์เพื่อพิจารณาผ่อนคลาย หรือเพิ่มความเข้มงวดการบังคับใช้บางมาตรการ โดยมุ่งจะให้การควบคุมและการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉินสามารถยุติลงได้โดยเร็วและไม่ย้อนกลับมาอีก

ขณะเดียวกัน ประชาชนสามารถดํารงชีวิต ได้อย่างปกติสุข ภายใต้มาตรการป้องกันโรคและคําแนะนําของทางราชการ โดยจะพิจารณาผ่อนคลาย เป็นลําดับขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกําหนดและคํานึงถึงประเภทของกิจการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงน้อย สถานที่ซึ่งสามารถจัดระบบควบคุมดูแลได้ และผู้เกี่ยวข้องซึ่งสามารถ นํามาตรการป้องกันโรคมาบังคับใช้ได้เป็นลําดับแรก โดยใช้ช่วงเวลาระยะแรกนี้เตรียมการเพื่อรองรับ การจัดระบบตามมาตรการและคําแนะนําของทางราชการไปพลางก่อน

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังนี้

ให้บรรดาประกาศหรือคําสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ผู้มีอํานาจตามกฎหมายว่าด้วย การเดินอากาศและกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่ได้ประกาศหรือสั่งไว้ก่อนวันที่ข้อกําหนดนี้ใช้บังคับ ไม่ว่าจะเป็นการห้าม การให้กระทําการ หรือการผ่อนคลายใด ๆ ซึ่งถือว่าเป็นประกาศหรือสั่ง ตามข้อกําหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปเช่นเดิม จนกว่าจะได้มีข้อกําหนด ประกาศ หรือ คําสั่งเป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมพ.ศ 2563 เป็นต้นไป


ด้านกรุงเทพมหานคร ได้มีมติคลายล็อกกิจการ 8 ประเภทสถานที่ แต่รอประกาศวันเปิดอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล ส่วนผับ บาร์ ขยายให้ปิดไปจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม ส่วนการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบด้วย

1. ร้านอาหาร นั่งทานที่ร้านได้ แต่ต้องจัดที่นั่งห่างกัน 1.5 – 2 เมตร ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิด-ปิดตามเวลา #พรกฉุกเฉิน / มีฉากกั้นอาหาร / งดให้บริการแบบบุฟเฟ่ต์ ปิ้ง ย่าง และหยิบตักเอง งดประกอบอาหารบนโต๊ะ เช่น สุกี้ ชาบู แต่เลือกสั่งกลับบ้านจากเมนูอาหารได้ รวมทั้ง งดเล่นดนตรีสด

2. ตลาด หรือ ตลาดนัด ให้ขายสินค้าได้ทุกประเภท แต่ต้องเว้นระยะห่างของแผงค้า / ตั้งจุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ เข้า-ออกทางเดียว / พ่อค้าแม่ค้า สวมถุงมือ สวมหน้ากากอนามัย สวมหน้ากากป้องกันใบหน้า รวมทั้ง ประชาชนที่มาใช้บริการ / งดบริการเครื่องเล่นเด็ก / ทำความสะอาดตามวงรอบ

3. ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย อนุญาตเฉพาะ ตัด สระ ไดร์เท่านั้น / ไม่ให้นั่งรอในร้าน / ให้บริการรอบละ 2 ชั่วโมง และทำความสะอาดพื้น อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 20 นาที / ห้ามกินอาหารในร้าน / ช่างและผู้ใช้บริการ ต้องสวมหน้ากาก และ Face Shield / จดบันทึกผู้มาใช้บริการทุกคน เพื่อใช้เป็นข้อมูลติดตามโร

4. สนามกอล์ฟ งดใช้คลับเฮ้าส์ งดการรวมตัวของแคดดี้ อยู่ห่างจากผู้ใช้บริการ 1.5 เมตร / งดการแข่งขันทุกประเภท

5. สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย ศูนย์เยาวชนกทม. โดยกีฬากลางแจ้ง เปิดได้ 3 ประเภท แบดมินตัน / เทนนิส / วิ่ง ห้ามเล่นกีฬาประเภททีม / ห้ามจัดแข่งขัน / ห้ามมีผู้ชม / ตั้งจุดคัดกรอง / บันทึกรายชื่อผู้ใช้บริการ และต้องนัดคิวใช้บริการล่วงหน้า

6. คลินิก สถานพยาบาล ไม่รวมคลินิกลดน้ำหนัก และเสริมความงาม ให้ใช้มาตรการเดียวกับกระทรวงสาธารณสุข

7. สวนสาธารณะ เปิดได้ทั้งรัฐและเอกชน เน้นออกกำลังกายกลางแจ้ง งดการรวมกลุ่มจิบน้ำชา ไทเก็ก โยคะ แอโรบิก และเครื่องออกกำลังกาย ฟิตเนส / ตั้งจุดคัดกรอง เข้า-ออกทางเดียว

8. ร้านตัดขนสัตว์ ให้บริการได้ 1 คนต่อ 1 ตัว / กำหนดรอบเวลาเปิด-ปิด / ให้บริการรอบละ 2 ชั่วโมง และทำความสะอาดพื้น อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 20 นาที / ซักประวัติเจ้าของสัตว์ว่าติดเชื้อ #โควิด19 หรือไม่

 


ข้อมูลสำนักข่าวไทย
ชีวิตติดโปร