แอมโมเนียนไนเตรต จากปุ๋ยสู่ระเบิดอานุภาพรุนแรง

287

 “แอมโมเนียมไนเตรต” สารเคมี ที่ระเบิดกรุงเบรุต ที่สะเทือนใจทั้งโลก วัตถุที่ใช้เป็นปุ๋ย ได้กลายเป็นวัตถุระเบิดที่มีอานุภาพรุนแรง

เหตุการณ์ระเบิดกลางกรุงเบรุต เมืองหลวงของประเทศเลบานอน เป็นเหตุการณ์ที่เขย่าขวัญคนทั้งโลก มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนนับพันคน ทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน ยานพาหนะเสียหายยับเยิน แรงสั่นสะเทือนไปไกลถึง 200 กิโลเมตร อันเป็นอานุภาพจากแอมโมเนีบนไนเตรต จากโกดังที่ท่าเรือ ที่มีการตรวจยึดได้และเก็บไว้ตั้งแต่ปี 2547

แอมโมเนียนไรเตรต ทำไมถึงมีอานุภาพในการระเบิดรุนแรง

แอมโมเนียมไนเตรต”  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า NH4NO3 คือ สารเคมีที่เอาไปทำปุ๋ยเคมี มีหน้าที่คือสำหรับบำรุงพืชพันธุ์ไม้ แต่…ทว่าในระยะหลังมันเริ่มมีข้อสังเกตว่า มีการพัฒนาการใช้ แอมโมเนียมไนเตรต ให้เป็นส่วนประกอบของการทำระเบิดได้ด้วย

นั่นเพราะใน แอมโมเนียมไนเตรต มีธาตุไนโตรเจน ที่หากนำไปผสมกับเชื้อเพลิงจะก่อให้เกิดเป็นระเบิดที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อีกทั้งมันยังหาได้ง่าย ราคาถูก การนำไปประกอบเป็นระเบิดเพื่อใช้แต่ละวัตถุประสงค์ จึงเกิดขึ้นมากเรื่อยๆ ทั้งการใช้ในอุตสาหกรรมถ่านหิน เหมืองแร่ เหมืองโลหะ และในระยะหลังในช่วงเวลาเกือบๆ 50 ปีที่ผ่านมา แอมโมเนียมไนเตรต เริ่มเข้าไปสู่วงการการก่อการร้ายมาเรื่อยๆ และในตะวันออกกลางจะเรียกมันว่า “ระเบิดปุ๋ย”

กลไกการระเบิดของสารแอมโมเนียมไนเตรต ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ อธิบายในเว็บไซต์ว่า การระเบิดเริ่มต้นจากการระเบิดของเชื้อปะทุ (วัสดุที่มีวัตถุระเบิดปริมาณเล็กน้อย) และปลดปล่อย คลื่นระเบิด (detonation wave) ซึ่งมีความเร็วประมาณ 3.2-4.8 กิโลเมตร/วินาทีออกมา ส่งผลให้สารแอมโมเนียมไนเตรตในเม็ดปุ๋ยระเหิด กลายเป็นก๊าซทันที และจุดเชื้อเพลิงให้ลุกไหม้ พลังงานจากคลื่นระเบิดที่ทะลุผ่านสารแอมโมเนียมไนเตรตทำให้โมเลกุลสลายตัว อะตอมออกซิเจนถูกปลดปล่อยออกมา และรวมตัวเป็นก๊าซออกซิเจน เร่งปฏิกิริยาหรือกระบวนการเผาไหม้ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้ผลิตผลต่อเนื่องเป็นก๊าซร้อนต่างๆ

ก๊าซร้อนที่เกิดในเวลาสั้นเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นความดัน (pressure wave) ซึ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าอัตราเร็วเสียง (330 เมตรหรือ 1,100 ฟุต/วินาที) คลื่นนี้อาจทำอันตรายต่อชีวิต วัตถุ สิ่งของต่างๆ โดยรอบ นอกจากนี้ความร้อนสูงซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ยังทำให้วัตถุโดยรอบไหม้ไฟได้ อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านระเบิดระบุว่า อำนาจการทำลายส่วนใหญ่มาจากคลื่นความดัน

กระนั้นก็ตาม แม้จะมีการระบุว่า ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต รวมถึงปุ๋ยบางชนิดสามารถนำมาผลิตเป็นระเบิดได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิดระบุว่า ส่วนผสมของปุ๋ยเคมีและเชื้อเพลิงที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้มีสัดส่วนค่อนข้างจำเพาะ หากผสมคลาดเคลื่อน จะมีผลให้ส่วนผสมทั้งหมดเกิดปฏิกิริยาติดไฟลุกไหม้ และไม่ระเบิด

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเบรุต เลบานอน ที่มีการระบุถึงสาเหตุว่าเกิดจากการกักเก็บ แอมโมเนียมไนเตรต ที่ไม่มีระบบควบคุมที่ดีพอ จนอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามมา

ข้อมูล

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ https://www.mtec.or.th/post-knowledges/280